ประวัติโรงเรียน

Category: รอบรั้วโรงเรียน Published: Thursday, 30 January 2020 Written by Super User

ประวัติโรงเรียนวัดบ้านม้า

โรงเรียนนี้ได้เริ่มตั้งขึ้นเมื่อ พฤษภาคม  2483  โดยนายพลอย  ศราพันธ์  นายอำเภอเมืองจังหวัดลำพูนเป็นผู้จัดตั้งขึ้น  

โรงเรียนดำรงอยู่ได้ด้วยเงินงบประมาณการประถมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ  ในการจัดตั้งครั้งแรก ได้จัดสอนเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ข  มีครูสอน 2 คน  นักเรียน 35  คน  แต่เดิมได้อาศัยศาลาการเปรียญของวัดบ้านม้าเป็นสถานที่เล่าเรียน ต่อมาได้ขยายชั้นเรียนขึ้นอีก 3 ห้อง  ซึ่งในการจัดตั้งครั้งแรกนั้น มี นายอินตา  ทาธะทีเป็นครูใหญ่

ในต้นปี พ.ศ. 2497  ทางโรงเรียนได้ปลูกสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น ขนาด 3 ห้องเรียน

และได้ทำการเปิดป้ายอาคารเรียนเมื่อวันที่  21  เมษายน  2497  โดยมีขุนสนิทประชาราษฎร์

ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเป็นประธานและขนานนามโรงเรียนว่า   โรงเรียนวัดบ้านม้าวัฒนราษฎร์บำรุง 

ในช่วงปีพ.ศ.2515  นายนิพนธ์    อนุใจ  ครูใหญ่ได้ลากออกจากราชการด้วยเหตุรับราชการมานาน ทางการจึงแต่งตั้งให้  นายชาญ  ตาวารัตน์  ครูใหญ่โรงเรียนวัดเหมืองง่ามาดำรงตำแหน่งแทน

เมื่อปี พ.ศ. 2519  ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนขนาด 5 ห้อง จำนวน 1 หลังจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดในวงเงินงบประมาณ  27,500  บาท

ในปี พ.ศ. 2520  ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน  160,000  ก่อสร้างอาคารเรียนขนาด 3 ห้องเรียน  ขึ้น  1  หลังและสร้างโรงฝึกงานอีก  1  หลัง  ในวงเงินงบประมาณ  60,000  บาท               

ในปี พ.ศ.  2523  นายชาญ  ตาวรัตน์  ครูใหญ่ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนวัดร่องส้าว ทางราชการได้ย้าย   ครูบุญรัตน์   ปกปิงเมือง  ครูใหญ่โรงเรียนวัดร่องส้าว มาดำรงตำแหน่งแทน

ปี พ.ศ.  2523  ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนขนาด  4  ห้องเรียนในวงเงินงบประมาณ  480,000  บาท  และทางโรงเรียนได้รื้อถอนอาคารเรียนหลังแรก  เพื่อปรับปรุงเป็นสนามกีฬา

จนสามารถปรับปรุงเป็นสนามกีฬาใช้เป็นสนามกีฬาของกลุ่มโรงเรียนได้  มีการสร้างอัฒจรรย์โดยงบประมาณจาก สส.  และยังใช้เป็นสนามแข่งขันฟุตบอล   แฮนด์บอล  วอลเลย์บอล  และหลุมกระโดดได้เป็นอย่างดี

ต่อมาเมื่อวันที่  13 กันยายน  2525  นายบุญรัตน์  ปกปิงเมือง  ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่บ้านริมปิง  และมอบหมายให้นายเฉลิม  คำธิตา  รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่

เมื่อวันที่  1 กรกฎาคม  2526  นายประสบ   สุขเกษม  อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดสันป่าสัก  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน จนถึงวันที่  25  กันยายน  2528  จึงมอบหมายให้ นายอินทรน้อย  มลิชัยวงค์ เป็นผู้รักษาการแทน   จนถึงวันที่  25  กันยายน  2528  จึงมอบหมายให้  นายอินทรน้อย  มลิชัยวงค์  เป็นผู้รักษาการแทนอาจารย์ใหญ่ เนื่องจาก  นายประสบ   สุขเกษม  เกษียณอายุราชการ

เมื่อวันที่  6  มกราคม  2529  นายอินทรน้อย  มลิชัยวงค์   ได้มอบหมายหน้าที่ราชการในตำแหน่งให้นายอินเนตร   มณีขัตย์  ซึ่งย้ายมาจากโรงเรียนบ้านสันป่าเหียง   มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน

ต่อมาได้มีคำสั่งสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลำพูนที่  010/33  ลงวันที่  9  มกราคม  2533  ได้ย้ายนายสุวัฒน์  ใส่เสี้ยว  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบ้านม้า   ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้าน      ฮ่องกอม่วง   และได้ย้าย  นายประชัน  ตันตรา  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านฮ่องกอม่วง  มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบ้านม้าแทนในคำสั่งเดียวกัน

นายประชัน   ตันตรา  มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบ้านม้าเมื่อวันที่  12 พฤษภาคม  2543  ได้พัฒนาโรงเรียนบ้านม้าโดย

                (1)  เดือนกรกฎาคม  2543  สร้างรั้วคอนกรีตโรงเรียนด้านเหนือและด้านตะวันออก   ใช้เงินบริจาคของประชาชน  80,000  บาท

                (2)  เดือนพฤศจิกายน  2543  ได้จัดซื้อคอมพิวเตอร์จำนวน  15  เครื่องเป็นเงิน  270,000  บาท  เป็นของผู้ปกครองนักเรียนบริจาค  12  เครื่อง  ร้านสมานชัยมอเตอร์บริจาค  3  เครื่อง  เพื่อใช้ในการเรียนการสอน

                (3)  ปี พ.ศ.  2545  จัดสร้างเฮือนสมุนไพร  1  หลัง  โดยงบประมาณสิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

                (4) ปี พ.ศ.  2546  จัดสร้างเรือนเลี้ยงไก่  บ่อเลี้ยงปลา  โรงเพาะเห็ดสวนเกษตร  โดยรับสนับสนุนงบประมาณจากสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนแห่งประเทศไทย

                (5) สร้างป้ายโรงเรียนวัดบ้านม้า  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 1 เมื่อวันที่  4  กรกฎาคม  2546  โดยใช้งบประมาณ  15,000  บาท

                (6)  ปี พ.ศ.  2547  ได้ระดมทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกับชุมชนและหน่วยงานเอกชนในท้องถิ่น พัฒนาถนนในโรงเรียน  โดยปูพื้นถนนด้วยคอนกรีตซีแพค  ขนาดกว้าง  5  เมตร  ยาว  62  เมตร  โดยใช้งบประมาณของทางราชการเป็นเงิน  120,000  บาท

                (7)  ปี พ.ศ.  2550  ได้ระดมทรัพยากรทางการศึกษาก่อสร้างหอประชุมเอนกประสงค์สำเร็จเมื่อ 9  พฤษภาคม  2550  โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ  คิดเป็นเงินทั้งสิ้น   300,000  บาท

                (8)  ปี พ.ศ.  2552   ได้ปรับปรุงอาคารเรียน อาคารประกอบ  สนามเด็กเล่น  โดยทาสีใหม่ทุกอาคาร  เพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบน่าอยู่   น่าอาศัย  คิดเป็นเงิน  30,000  บาท

 

Hits: 2683

แหล่งเรียนรู้